ข้อมูล เทศบาล

ความเป็นมาของหน่วยงาน

ประวัติความเป็นมา

                ปี พุทธศักราช 2499 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี มีสถานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกาศเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2499 และต่อมาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาลเขาย้อย ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 โดยเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็น  "เทศบาลตำบลเขาย้อย"

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
21 หมู่บ้าน 24 ชุมชน 8,124 7,282 8,024 15,306 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไป

ประวัติ     เทศบาลตำบลเขาย้อยได้เปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาลเขาย้อย ตาม พ.ร.บ.   เปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก   ลงวันที่  24  กุมภาพันธ์  2542  และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  25  พฤษภาคม  2542   โดยเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลเขาย้อย

ลักษณะที่ตั้ง อาณาเขต และเขตการปกครอง

                ที่ตั้ง   เทศบาลตำบลเขาย้อย ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย  จังหวัดเพชรบุรี อยู่ห่างจากจังหวัดเพชรบุรี   22  กิโลเมตร  ห่างจากกรุงเทพฯ  ตามถนนเพชรเกษม  (สายเก่า)  137  กิโลเมตร  ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี – ปากท่อ (พระราม 2) 97 กิโลเมตร

                พื้นที่   มีพื้นที่ 40  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 25,000 ไร่

                อาณาเขต 

  1. ทิศเหนือในพื้นที่ของตำบลบางเค็ม จรดตำบลห้วยโรงอำเภอเขาย้อย

จังหวัด เพชรบุรี

  1. ทิศใต้ ในพื้นที่ตำบลทับคาง จรดตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
  2. ทิศตะวันออก  จรดหมู่ที่  7  ตำบลเขาย้อย  ตำบลหนองปรง  ตำบลหนองปลาไหล

อำเภอเขาย้อย  จังหวัดเพชรบุรี  และบางส่วนของพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

  1. ทิศตะวันตก จรดหมู่ที่ 1,2,4 ตำบลทับคาง หมู่ที่ 1,2 ตำบลเขาย้อย หมู่ที่1,2 ตำบล

สระพัง และตำบลหนองชุมพล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรีระยะห่างจากจังหวัด  22    กิโลเมตร

                เขตการปกครอง   มีเขตการปกครอง  4  ตำบล  21  หมู่บ้าน

  1. ตำบลเขาย้อย มี 7 หมู่บ้าน อยู่ในเขตเทศบาล  6  หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1–6 หมู่ที่มี

พื้นที่เต็ม คือ หมู่ที่ 3,4,5,6  หมู่ที่มีพื้นที่บางส่วน  คือ  หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2

  1. ตำบลบางเค็มมี 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 -  6  (เต็มพื้นที่ทั้งตำบล)
  2. ตำบลทับคาง มี 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 – 5  หมู่ที่มีพื้นที่เต็ม คือ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่

5 หมู่ที่มีพื้นที่บางส่วน คือ หมู่ที่ 1, 2 และหมู่ที่ 4                               

  1. ตำบลสระพังมี 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 - 4  หมู่ที่มีพื้นที่เต็มคือ  3, 4  และหมู่ที่มี

พื้นที่บางส่วน  คือหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2

สภาพภูมิประเทศ   พื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาลตำบลเขาย้อย  มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาและ ที่ราบสูงทางด้านทิศตะวันตก  ซึ่งในส่วนที่มีเขตติดต่อกับพื้นที่ของอำเภอหนองหญ้าปล้องและเป็นพื้นที่  ลาดเอียงไปทางทิศตะวันออก มีพื้นที่ทำนาสลับกันไปในเขตพื้นที่ตำบลสระพังและตำบลเขาย้อย      ลักษณะของดินภูเขา   คือ   ดินปนหินกรวดหรือลูกรัง   ในเขตเทศบาลตำบลเขาย้อยมีภูเขาที่สำคัญอยู่จำนวน 1 ลูก คือ ภูเขาย้อย มีลำคลองสาธารณะและแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่านเขตเทศบาล จำนวนหลายสาย  เช่น  ห้วยตุ๊กลุ๊ก  ห้วยหลวง  ห้วยตาห้า  เป็นต้น มีคลองชลประทาน ซึ่งรับน้ำจากจังหวัดราชบุรี ฝั่งขวา ไหลผ่าน คือ คลองใหญ่ 1 ขวา   คลองสาย  21 ซ้าย สายใหญ่ 1 ขวา คลองสาย 22 สายใหญ่ 1 ขวา มีน้ำที่สามารถใช้ในการเกษตรได้ตลอดทั้งปี

แผนที่ เทศบาลตำบลเขาย้อย

2. ด้านการเมือง/การปกครอง

         2.1 เขตการปกครอง

        มีเขตการปกครอง  4  ตำบล  21  หมู่บ้าน    24 ชุมชน

  1. ตำบลเขาย้อย มี 7 หมู่บ้าน อยู่ในเขตเทศบาล  6  หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1–6 หมู่ที่มี

พื้นที่เต็ม คือ หมู่ที่ 3,4,5,6  หมู่ที่มีพื้นที่บางส่วน  คือ  หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2

  1. ตำบลบางเค็มมี 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 -  6  (เต็มพื้นที่ทั้งตำบล)
  2. ตำบลทับคาง มี 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 – 5  หมู่ที่มีพื้นที่เต็ม คือ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่

5 หมู่ที่มีพื้นที่บางส่วน คือ หมู่ที่ 1, 2 และหมู่ที่ 4                               

  1. ตำบลสระพังมี 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 - 4  หมู่ที่มีพื้นที่เต็มคือ  3, 4  และหมู่ที่มี

พื้นที่บางส่วน  คือหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2

         2.2 การเลือกตั้ง

              เทศบาลตำบลเขาย้อย  ประกอบด้วยสภาเทศบาล  และนายกเทศมนตรี

               สภาเทศบาลตำบลเขาย้อย     ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน  จำนวน  12  คน

               ผู้บริหาร และผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาล ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี       1 คน  รองนายกเทศมนตรี  2  คน  ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี  1  คน  และเลขานุการนายกเทศมนตรี  1  คน

               เขตการเลือกตั้ง  แบ่งเป็น  2  เขต   เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย ตำบลบางเค็ม หมู่ที่ 1–6, ตำบลสระพัง หมู่ที่ 1–4, ตำบลเขาย้อย หมู่ที่ 1    เขตเลือกตั้งที่  2  ประกอบด้วย  ตำบลเขาย้อย  หมู่ที่     2 – 6, ตำบลทับคาง หมู่ที่ 1 – 5 

การศึกษา

โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา 2 แห่ง คือ

1. โรงเรียนโยธินบูรณะ เพชรบุรี

2. โรงเรียนเขาย้อยวิทยา

 

โรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานประถมศึกษาแห่งชาติ  9 แห่ง คือ

1. โรงเรียนบ้านเขาย้อย

2. โรงเรียนบ้านสระพัง

3. โรงเรียนวัดกุฎิ (ชุ่มประชารังสรรค์)

4. โรงเรียนวัดดอนทราย (สัมฤทธิ์ราษฎร์นุเคราะห์)

5. โรงเรียนวัดท้ายตลาด (วิวัฒน์เกษนราประชานุกูล)    

6. โรงเรียนวัดเทพประชุมนิมิตร (สาตรราษฎร์บำรุง)

7. โรงเรียนวัดโพธิ์ (ชื่นศรีผดุง)

8. โรงเรียนวัดยาง (เย็นประชาสรรค์)

9. โรงเรียนวัดหนองส้ม

 

โรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนมีจำนวน 1 แห่ง คือ

1.โรงเรียนวัดเขาย้อยไพบูลอุปถัมภ์ (แสงส่องหล้า 5)

 

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเขาย้อย มี 7 แห่ง คือ

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดกุฎิ

2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดวัดหนองส้ม

3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดยาง

4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดดอนทราย-เขาย้อย

5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทับคาง
 

ห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลเขาย้อย

 

ศาสนา

       ประชาชนส่วนใหญ่ภายในเขตเทศบาลตำบลเขาย้อยนับถือศาสนาพุทธ    รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ ตามลำดับ

สถานประกอบพิธีทางศาสนาในเขตเทศบาล  มีดังนี้

วัดในพุทธศาสนา  แห่ง ได้แก่ 

วัดเขาย้อย ตำบลเขาย้อย

วัดท้ายตลาด ตำบลเขาย้อย

วัดพระธาตุศิริชัย ตำบลเขาย้อย

วัดยาง ตำบลเขาย้อย

วัดห้วยหลวง ตำบลเขาย้อย

วัดดอนทราย ตำบลทับคาง

วัดเทพประชุมนิมิตร ตำบลทับคาง

วัดกุฎิ ตำบลบางเค็ม

วัดบ้านกล้วย ตำบลบางเค็ม

วัดโพธิ์งาม ตำบลบางเค็ม

วัดสระพัง ตำบลสระพัง

วัดหนองส้ม ตำบลสระพัง

ศาลเจ้า 1 แห่ง  ได้แก่  วิหารเสด็จย่ากิมบ้อเอี่ยวตี้เทียนเก็ง

 

 

ด้านกายภาพ

1.1  ลักษณะที่ตั้ง

                เทศบาลตำบลเขาย้อย ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย  จังหวัดเพชรบุรี อยู่ห่างจากจังหวัดเพชรบุรี   22  กิโลเมตร  ห่างจากกรุงเทพฯ  ตามถนนเพชรเกษม  (สายเก่า)  137  กิโลเมตร  ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี – ปากท่อ (พระราม 2) 97 กิโลเมตร

                อาณาเขต 

  1. ทิศเหนือในพื้นที่ของตำบลบางเค็ม จรดตำบลห้วยโรงอำเภอเขาย้อย

จังหวัด เพชรบุรี

  1. ทิศใต้ ในพื้นที่ตำบลทับคาง จรดตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
  2. ทิศตะวันออก  จรดหมู่ที่  7  ตำบลเขาย้อย  ตำบลหนองปรง  ตำบลหนองปลาไหล

อำเภอเขาย้อย  จังหวัดเพชรบุรี  และบางส่วนของพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

  1. ทิศตะวันตก จรดหมู่ที่ 1,2,4 ตำบลทับคาง หมู่ที่ 1,2 ตำบลเขาย้อย หมู่ที่1,2 ตำบล

สระพัง และตำบลหนองชุมพล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรีระยะห่างจากจังหวัด  22    กิโลเมตร

                พื้นที่   มีพื้นที่ 40  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 25,000 ไร่

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

                      พื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาลตำบลเขาย้อย  มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาและ ที่ราบสูงทางด้านทิศตะวันตก  ซึ่งในส่วนที่มีเขตติดต่อกับพื้นที่ของอำเภอหนองหญ้าปล้องและเป็นพื้นที่  ลาดเอียงไปทางทิศตะวันออก มีพื้นที่ทำนาสลับกันไปในเขตพื้นที่ตำบลสระพังและตำบลเขาย้อย ลักษณะของดินภูเขา  คือ     ดินปนหินกรวดหรือลูกรัง   ในเขตเทศบาลตำบลเขาย้อยมีภูเขาที่สำคัญอยู่จำนวน 1 ลูก คือ ภูเขาย้อย มีลำคลองสาธารณะและแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่านเขตเทศบาล จำนวนหลายสาย  เช่น  ห้วยตุ๊กลุ๊ก  ห้วยหลวง  ห้วยตาห้า  เป็นต้น มีคลองชลประทาน ซึ่งรับน้ำจากจังหวัดราชบุรี ฝั่งขวา ไหลผ่าน คือ คลองใหญ่ 1 ขวา   คลองสาย  21 ซ้าย สายใหญ่ 1 ขวา คลองสาย 22 สายใหญ่ 1 ขวา มีน้ำที่สามารถใช้ในการเกษตรได้ตลอดทั้งปี

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

จังหวัดเพชรบุรีอยู่ติดอ่าวไทย เทศบาลตำบลเขาย้อยจึงได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในฤดูฝน ซึ่งมีผลทำให้ฝนตกชุก และอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว จึงทำให้มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเวลาดังกล่าว สามารถแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู

·         ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน

·         ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน

·         ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์

1.4 ลักษณะของดิน

ลักษณะดินของจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวและดินเหนียวปนทรายในพื้นที่บริเวณที่ราบตอนกลางของจังหวัด ดินเหนียวถึงดินร่วนปนกรวดและเศษหินในบริเวณที่ราบสูงทางด้านตะวันตก และเป็นลักษณะดินร่วนเหนียวในบริเวณพื้นที่ราบชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันออก แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้สภาพดินส่วนใหญ่จะมีความอุดมสมบูรณ์แต่บางพื้นที่ที่ดินมีปัญหาคือ ดินตื้น ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ                  ร้อยละ  15  ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ตอนล่างของอำเภอท่ายาง และบางส่วนของอำเภอเขาย้อย

• หน่วยงานและอำนาจหน้าที่

• การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

• ตรวจสอบภายใน

     • แผนการตรวจสอบภายใน

     • รายงานการตรวจสอบภายใน

     • งานควบคุมภายใน

     • การบริหารความเสี่ยง

• การปฏิบัติงาน

     • คู่มือการการปฏิบัติงาน

     • มาตรฐานการปฏิบัติงาน

     • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

• การให้บริการ

     • คู่มือการให้บริการ

     • มาตรฐานการให้บริการ

     • สถิติการให้บริการ

     • ผลสำรวจความพึงพอใจในการให้บริการ

• การบริหารทรัพยากรบุคคล

     • นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

     • การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

     • หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

     • รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจําปี